ในการศึกษาศิลปะ การฝึกพื้นฐานต่างๆนั้นล้วนเริ่มจากการวาดเส้น โดยวาดจากหุ่นต่างๆที่ครูอาจารย์จัดให้ โดยส่วนใหญ่มักเป็นหุ่น ดั้งเดิมที่ใช้ในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีต และหนึ่งในผลงานที่เป็นแบบเรียนนั้น คือหุ่นกายวิภาคในท่ายกแขนและทิ้งน้ำหนักลงที่ขาซ้าย แบบที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามสถาบันการศึกษาศิลปะ
ด้วยท่าทาที่สวยงามและแสดงโครงสร้างมนุษย์ทำให้หุ่นนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการของต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยเป็นแบบฝึกหัดให้ให้นักศึกษาศิลปะได้ฝึกฝนฝีมือ ทว่าด้วยความคุ้นเคยทำให้มักถูกละเลยถึงแหล่งที่มา ทั้งจากศิลปินผู้สร้างหรือความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของผลงานนั้นๆ ทั้งจากการตั้งคำถามถึงเหตุผลที่ผลงานนั้นกลายเป็นแบบเรียนท่ามกลางผลงานที่ถูกสร้างขึ้น
ผลงานประติมากรรมชิ้นนั้นคือ หุ่นกายวิภาคขนาดเท่าคนจริงของ อาจารย์ฮูด้อน (Houdon) ซึ่งทำขึ้นเพื่อศึกษาการสร้างงาน ประติมากรรม นักบุญจอห์น (St. John)
ในช่วงเวลาระหว่าง คศ. 1764 ถึง 1768 ผลงานประติมากรรม นักบุญจอห์น (St. John) ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับโบสถ์ของนิกาย Carthusian ณ เมืองซานต้า มาเรีย (Santa Maria) โดยมอบหมายแก่ประติมากรคนสำคัญแห่งยุค Jean Antoine Houdon ซึ่งขณะนั้น ประจำอยู่ที่ Académie de France ณ กรุงโรม
Jean Antoine Houdon มีผลงานที่ยิ่งใหญ่มากมาย โดยเฉพาะผลงาน San Bruno และ San Giovanni Battista ผลงานเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงและทำให้ Houdon กลายเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านประติมากรรมของยุโรป
เดือนเดือนกรกฏาคม ปีคศ.1894
หลังจากที่ประติมากรรม นักบุญจอห์น ถูกสร้างขึ้น 18 ปี มีความผิดปรกติเกิดขึ้นกับตัวผลงาน ที่ส่งผลทำให้ประติมากรรมที่ยิ่งใหญ่นี้พังทลายลง
ความเสียหายรุนแรงมากจนไม่เหลือหลักฐานในการอ้างอิงถึงลักษณะท่าทางที่สวยงามสมบูรณ์อีกต่อไป
...และกาลเวลาทำให้ความทรงจำของผู้คนต่อผลงนชิ้นนี้ค่อยๆเลือนหายไป...
จนกระทั่งวันหนึ่งในปี1921
ภายในห้องที่มืดมิดของสตูดิโอ Museo Nazionale Roman หลังจากที่ประตูปิดตาได้ยถูกเปิดออก เบอร์ตินี่ คอลอสโซ่(Bertini Calosso) ถึงกับตกใจเมื่อพบรูปปั้นจำลอง ขนาดเท่าจริงของนักบุญจอห์น ยืนอยู่ท่ามกลางผลงานที่กระจัดกระจายชิ้นอื่นๆในสตูดิโอที่เงียบสงบแห่งนี้
ความงดงามของรูปปั้นทำให้เบอร์ตินี่จดจำได้ทันทีถึงผลงานที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับโบสถ์ในซานต้ามาเรีย จึงไปเก็บรักษาที่ Galleria Borghese collection ในกรุงโรมจวบจุปัจจุบัน และถอดแบบเก็บไว้เพื่อความมั่นใจว่าผลงานชิ้นนี้จะไม่มีวันสูญสลายหรือสูญหายอีกต่อไป หนึ่งในหลักฐานที่ช่วยยืนยันนี้มาจากสมุดบันทึกของ Johann Christian ซึ่งบันทึกระหว่างการสร้างงานประติมากรรม Houdonเริ่มต้นการทำงานโดยขึ้นรูปจากดินเหนียวในรูปของกายวิภาค(ecorche)ก่อน เพื่อศึกษาศึกษาโครงสร้างของกล้ามเนื้อในท่าทางขณะที่นักบุญจอร์นยกมือขึ้นในท่าประทานพรแด่เหล่าผู้ศรัทธา แขนและขาอีกข้างทิ้งลงอย่างผ่อนคลายบนลำตัวที่เหยียดสูง เผยช่วงหน้าอกให้กว้างออกในลักษณะของผู้มีบารมี
ภายหลังที่รูปปั้นกายวิภาคนี้ถูกค้นพบ
(เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Flayed man ) ผลงานทั้งสองชิ้นถูกนำมาเปรียบเทียบกับรูปปั้น St. John แทบจะทันที และถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งในรากฐานที่สำคัญของการศึกษาในระบบAcademy สำหรับการสร้างรูปกายวิภาค ก่อนสร้างผลงานจริง และในท้ายที่สุดรูปปั้นได้ถูกหล่อซ้ำและกระจายไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วไปในยุโรป เป็นหนึ่งในประติมากรรม ที่แสดงโครงสร้างกายวิภาคของท่ายืนที่ผ่าเผย ผ่อนคลาย และสง่างาม
กายวิภาคของนักบุญจอห์นยืนด้วยท่าพักสะโพกที่สวยงามโดยลงน้ำหนักที่เท้าซ้าย ผ่านช่วงเวลาอันยาวนานกว่าหนึ่งร้อยปีและยังคงยืนอย่างมั่นคงต่อไปอีกนาน เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงอื่นๆได้แก่ ประติมากรรมศีรษะของ Washington , Voltaire , Benjamin Frankli
ในประเทศไทย ประติมากรรมกายวิภาคนี้ถูกนำมาจากประเทศอิตาลีโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีจัดแสดงอยู่ที่
หอประติมากรรมต้นแบบ กรมศิลปากร และเป็นแบบเรียนในสถาบันการศึกษาศิลปะต่างๆ
....
บทความโดย Wannarit Karin ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ
-ขอขอบคุณแมงปอที่ร่วมกันสร้างบทความนี้ขึ้นมาจนถึงตีสาม #mangpor
บรรณานุกรม
https://felicecalchi.blogspot.com/2012_06_01_archive.html?view=classic
http://www.napoleon.org/en/history-of-the-two-empires/paintings/jean-antoine-houdon-sculpting-the-bust-of-first-consul-bonaparte/
http://www.metmuseum.org/toah/hd/jahd/hd_jahd.htm
http://www.keropiansculpture.com/houdon_ecorche.html
http://www.keropiansculpture.com/pafarest.html